9 มีนาคม 2555

ทฤษฎีสะท้อนกลับ ของ จอร์ส โซรอส ราชาแห่งการเก็งกำไร

วันนี้ขอนำเสนอบทความหนักๆ ให้ผู้อ่านสักนิด......หลังจากที่ได้อ่านหนังสือ "รวยหุ้นล้นฟ้า ด้วยระบบคิดใหม่" ของคุณพิชัย จาวลา ทำให้นึกถึงทฤษฎี Theory of Reflexivity ของจอร์ส โซรอส เจ้าของฉายาบุรุษผู้ปล้นแบงค์ชาติอังกฤษ (รวมถึงแบงค์ชาติของเรา ^^ ) ที่มีความเหมือนกันมาก จริงๆอาจกล่าวได้ว่า การอธิบายดููเหมือนจะแตกต่างกันในกลวิธี แต่ด้วยประเด็นสำคัญแล้วเป็นสิ่งเดียวกันอย่างแยกไม่ออก

สำหรับ Theory of Reflexivity หรือ ทฤษฎีสะท้อนกลับ นั้น โซรอสได้พยายามนำเสนอผ่านหนังสือที่เขาเขียนขึ้นหลายต่อหลายเล่ม แต่ก็ดูเหมือน โซรอสจะมีปัญหาในการอธิบายให้คนอื่นเข้าใจในหลักการของเขา เพราะคนทั่วไปที่อ่านแนวคิดของเขามักจะสับสน หรือเข้าใจแบบงงๆ ทำให้มีคนมากมายพยายามตีความ และอธิบายหลักการนี้ต่อจากจอร์สอีกที ซึ่งแน่นอนว่าคุณพิชัยก็น่าจะเป็นหนึ่งในนั้น

โดยทฤษฎีดังกล่าว โซรอสอธิบายว่า ความจริง(objective)และความเห็น(subjective)ต่างส่งผลถึงกันแบบสะท้อนเพราะถูกกระทบด้วย “แรง” ที่โซรอสเรียกว่า feedback ทำให้ ตลาด“มุ่งออก”จากสมดุลตลอดเวลา



โดยหลักการทำงานจะเป็นลักษณะของ Boom Bust Model โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้

ขั้นแรก ปฏิกิริยา Boom ก็คือการก่อตัวของ "ฟองสบู่" (Boom) ซึ่งจะเริ่มมาจาก ความเชื่อของ Participant บางกลุ่มในตลาดได้กระทำ Actions บางอย่างต่อตลาดตามความเชื่อของเขา และเมื่อตลาดตอบสนองในทิศทางที่พวกเค้าเหล่านั้นคิด ก็จะทำให้พวกเค้าเหล่านั้นเชื่อมั่นในความคิดของตัวเองว่าถูกต้อง กล่าวคือ Participant จะยึดติดความถูกต้องของตัวเองกับสิ่งที่ตลาดสะท้อนกลับออกมาให้เห็น แล้วเมื่อทิศทางตลาดตอบรับความเชื่อของเค้าเหล่านั้นเค้าก็จะยิ่งมั่นใจมากขึ้นและความมั่นใจของเค้ารวมทั้งการตอบสนองของตลาด เหล่านี้เองที่จะสร้าง ความเชื่อใหม่ๆให้แก่กลุ่มคนที่อยู่ภายนอกตลาด (Observer) นั่นเอง ซึ่งฟองสบู่จะค่อยๆขยายตัวออกตามอัตราที่ Observer เหล่านี้ค่อยๆเข้ามากลายเป็น Participant โดยราคาของมันจะเร่งความเร็วของการขยายตัวมากจนเกินความเป็นจริง

ซึ่งจะเป็นไปดัง Functions ดังต่อไปนี้
Observer -----> Participant -----> Market Feed Back (สอดคล้องความเชื่อ ได้กำไร)

จาก Functions ของโซรอส เราจะเห็นได้ว่า ยิ่งตลาดตอบสนองสอดคล้องไปในทิศทางที่เราต้องการให้เป็นมากเท่าไร อัตราการเร่งก็จะยิ่งเร่งให้ Observer เข้ามาเป็น Participant มากขึ้น กว่า Rate อัตราปกติที่ตลาดจะรับได้

ยกตังอย่าง เช่น ราคาทองคำ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ต่อเนื่อง ตามความเชื่อของกลุ่มคนในตลาด Commodity บางกลุ่ม (Participant) และราคาได้ตอบสนองต่อความเชื่อเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นอัตราเร่งความมั่นใจ และสร้างความเชื่อว่าความคิดเหล่านี้ถูกต้อง จนส่งผ่านมาถึงผู้คนภายนอกตลาด (Obsever )ให้เข้ามาร่วมเล่นด้วย แต่แน่นอน อัตราการเข้ามาที่ "เร็วเกินไป" และการขยายตัวของราคาที่พุ่งเกินพื้นฐานตามความเชื่อของ Observer ที่คล้อยตามนั้น จะทำให้ตลาดสะท้อนกลับออกมาในทิศทางที่ตรงกันข้าม ซึ่งหมายถึงราคาจะเริ่มปรับตัวลดลง และหากตลาดสะท้อนในทิศทางความเชื่อที่ตรงกันข้ามเหล่านี้ต่อไปเรื่อยๆ คนอีกกลุ่มซึ่งคิดสอดคล้องกับตลาดในทิศทางตรงข้าม ก็จะเริ่มมั่นใจในเหตุผลบางอย่าง ว่าถูกต้อง และส่งผ่านความเชื่อนี้ออกไปให้กับ Participant คนอื่นๆ เริ่มรับรู้ และคล้อยตาม เช่น ธนาคารกลางเริ่มลดการถือครองทองคำลงด้วยเหตุผลบางอย่าง กองทุนขนาดใหญ่ที่เคยซื้อไว้เริ่มขายทองออกมา อะไรเหล่านี้เป็นต้น สุดแท้แต่ความเชื่อ และยิ่งหากตลาดแสดงผลลัพธ์สอดคล้องไปในทิศทางความเชื่อของคนกลุ่มนี้ ความเชื่อก็จะเริ่มมีน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆๆ จนหลายคนเริ่มคล้อยตามและคิดว่าถูกต้อง จึงยิ่งทำให้มีกา
รเทขายทองออกมามากขึ้น ซึ่งหากผลกระทบเหล่านั้นรุนแรงมาก Participant กลุ่มอื่นๆ ก็จะค่อยๆ ทยอยออกจากตลาดไป เป็นวงจรแบบนี้วนไปเรื่อยๆ โดยที่ Observer และ Participant อาจจะเป็นคนกลุ่มใหม่ๆผลัดเวียนเปลี่ยนไปอยู่เสมอหรือคนเก่าก็ได้ และนี่คือขั้น ปฏิกิริยา Bust ซึ่งเป็นไปดัง functions ง่ายๆดังรูปข้างล่างนี้

Observer <----- - Participant <------- Market Feed Back (ไม่สอดคล้องกับความเชื่อ เริ่มขาดทุน)

ซึ่งโซรอส สนใจกับสิ่งที่กล่าวมานี้มากกว่า ความเชื่อทางด้าน Economic ขณะๆนั้น ซึ่งดูยังไงก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องในเวลาช่วงนั้นๆ เพราะ ถ้าเกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับขึ้นมาเราก็จะเห็นข้อมูลที่ถูกต้องทาง Economic ที่ตอบรับกับ Feed Back ของตลาดอยู่ดี

------------------------------------------------------------------
"ทฤษฎีสะท้อนกลับ" กับ "ราคาหุ้น"
------------------------------------------------------------------

โดยการสะท้อนกลับนั้น มีทั้งด้าน Positive feedback และ Negative feedback

ในส่วนของ
Positive feedback นั้น เริ่มต้นจาก ความเชื่อของคนบางกลุ่มว่าหุ้นตัวนี้ราคาถูก พื้นฐานดี กำลังเติบโต ทำให้คนกลุ่มแรกเริ่มเก็บหุ้น ทำให้ราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้น สอดคล้องกับความเชื่อ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เชื่อว่าตัวเองคิดถูก ความเชื่อดังกล่าวจะถูกส่งผ่านไปยังผู้เล่นกลุ่มคนอื่นๆ ผ่านทางบทวิเคราะห์ทางพื้นฐาน ทางเทคนิคต่างๆ ทำให้กลุ่มคนที่ไม่เคยสนใจหุ้นตัวนี้จะเริ่มเข้ามาร่วมวงด้วย จนเริ่มมีแรงซื้อเข้ามา ราคาจะยิ่งปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ โบรกเกอร์จะยิ่งหาเหตุผลมารองรับการเพิ่มขึ้นของราคา โดยจะออกบทวิเคราะห์สอดรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยอ้างความแข็งแกร่งของปัจจัยพื้นฐาน อนาคตที่สวยหรูของกิจการ หรือเหตุผลใดๆ ก็สุดแล้วแต่ สิ่งเหล่านี้จะถูตีแผ่ขยายเป็นวงกว้างจน ทำให้นักลงทุน คู่ค้าทางธุรกิจ หรือลูกค้าของบริษัทมีความมั่นใจในตัวบริษัทมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อยอดขายที่ดีขึ้น ต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง กิจการจะยิ่งมีกำไรเพิ่มขึ้น จนในที่สุด ราคาจะยิ่งปรับตัวสูงไปเรื่อยๆ ด้วยอัตราเร่งที่มากเกินกว่าตลาดจะรับไหวและไปจากระดับสมดุลอย่างมาก ณ ระดับราคานี้เองที่คนโซรอสจะทำการ short sell เพราะเขาเชื่อว่ามันจะเกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับในทิศทางตรงข้าม วงจรการปรับขึ้นของราคาหุ้นดังกล่าวจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิด Critical mass(มวลวิกฤต) ขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็น ข่าวร้ายแรง, งบต่ำกว่าหวัง หรืออะไรต่อมิอะไร


หรือ Negative Feedback หรือฝั่งการลดลงของราคาหุ้น เช่น ผลกระทบภาวะอุตสาหกรรมที่ย่ำแย่ หรือการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัท (Credit Rating) โดยเมื่อไหร่ที่สถาบันจัดอันดับทางการเงินอย่าง Moody’s หรือ S&P ได้ทำการลดระดับความน่าเชื่อทางการเงิน ของบริษัททางการเงินลง มันจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของกิจการ นอกจากนี้ การถูก Downgrade ความน่าเชื่อถือจะยิ่งทำให้บริษัทมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ภาพลักษณ์ของกิจการต่อคู่ค้า ลูกค้าเริ่มลดลงรวมถึงลดความเชื่อมั่นในอนาคตของกิจการต่อนักลงทุน มันจึงส่งผลทำให้เกิดแรงขาย จนราคาปรับตัวลดลงสอดรับกับความเชื่อที่เกิดขึ้นในตอนแรก โบรกเกอร์หรือนักวิเคราะห์จะยิ่งตอกย้ำด้วยการทำบทวิจัยชี้ให้เห็นขาลงของกิจการ นักลงทุนกลุ่มอื่นๆ ก็จะเริ่มเทขายบ้าง ทำให้เกิดการร่วงหล่นของราคาหุ้นไปเรื่อยๆ ยิ่งเป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่ากิจการจะมีปัญหา แรงขายจะเพิ่มขึ้นอย่างกระหน่ำ แทบจะขายทุกระดับราคา และจุดนี้เอง โซรอสจะเริ่มพิจารณาว่าจะเข้าซื้อหรือไม่? วงจรการปรับตัวลงของราคาหุ้นดังกล่าวจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิด Critical mass ขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็น ข่าวดีของกิจการ, งบพลิกกลับมากำไร การเข้ามาร่วมทุนจากพันธมิตร ฯลฯ

อีกตัวอย่างเช่น ในระหว่างที่เกิดภาวะฟองสบู่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์(ในอเมริกา)ขึ้นนั้น ราคาของบ้านที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก ได้ทำให้มูลค่าของบ้านนั้นเพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งได้ทำให้ธนาคารต่างๆกล้าที่จะลดดอกเบี้ยในการกู้ยืมจากเกณฑ์มาตรฐานลงมา จึงเป็นผลทำให้ผู้บริโภคนั้นมีแรงซื้อที่เพิ่มมากขึ้น และในที่สุดก็มีผลทำให้ของราคาบ้านนั้นยิ่งสูงขึ้นไปอีกกว่าเดิม ซึ่งทำให้มูลค่าของบ้านนั้นเพิ่มขึ้นสูงตามมาอีก และมีผลกระทบลูกโซ่อย่างนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเมื่อราคาเริ่มพุ่งขึ้นในอัตราที่ตลาดเกินจะรับไหว ก็จะเริ่มมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับในมิศทางที่ตรงกันข้ามด้วยเหตุผลใดๆ ก็แล้วแต่ ราคาบ้านจะเริ่มตกลง ซึ่งกลุ่มคนที่มีความเชื่อกับทิศทางตรงข้ามนั้นจะเริ่มคิดว่าตัวเองคิดถูก และจะเริ่มถ่ายทอดความเชื่อไปสู่ Participant เรื่อยๆ ราคาจึงยิ่งตกลง และในที่สุดเมื่อความเชื่อในทิศตรงข้ามขยายเป็นวงกว้าง ก็จะมีแต่คนต้องการขายบ้าน ไม่มีใครซื้อ ราคาจึงยิ่งตกลงตกลงนั่นเอง หรือที่เรียกว่าฟองสบู่แตกในที่สุด และตอนนี้เอง โซรอสก็คงกำลังไล่ลงทุนในธุรกิจอสังริมทรัพย์อยู่

และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม โซรอสถึงให้ความสำคัญของเขาในการลงทุนให้กับทฤษฎีกระจกสะท้อนนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่เขานำมาช่วยในการบ่งชี้ถึงจุดสูงสุดหรือต่ำสุดของราคา ซึ่งทำให้เขากล้าที่จะวางเดิมพันในการวกกลับลงมาของมันนั่นเอง และสิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่โซรอสใช้ในชีวิตการเก็งกำไรของเขามาโดยตลอด

หลังจากที่อ่านแนวคิดทฤษฎีสะท้อนกลับของโซรอส เปรียบเทียบกับ ทฤษฎีผลประโยชน์ของคุณ พิชัย แม้ว่าการอธิบายจะดูต่างกัน เพราะบางคนอ่านแนวคิดของโซรอสจนจบก็ยังไม่เข้าใจประเด็น ทำให้คุณพิชัยต้องการจะนำเสนอให้เราเห็นภาพชัดเจนและปฏิบัติได้จริงมากขึ้น นั่นคือ พยายามอธิบายว่า แท้จริงแล้ว ในจุดที่ตลาดวกกลับในความคิดของโซรอส ก็คือ จุดที่ไม่มีเหตุผลใดๆ สนับสนุนให้ทำสิ่งตรงข้าม เช่น จุดที่ราคาน้ำมันดิบขึ้นไปสูงสุดและกำลังจะวกกลับเป็นขาลง (จุดที่โซรอสขาย) จะเป็นจุดที่คนทั่วไปซื้อ ซื้อ และก็ซื้อ และไม่มีเหตุผลใดๆทั้งสิ้นที่จะบอกว่าราคาน้ำมันจะลดลงเลย ทุกบทวิเคราะห์ ทุกสถานการ์ณเน้นให้เราต้องซื้อเท่านั้น จุดมั่นใจสุดๆแบบนี้แหละ เป็นจุดที่เราต้องขาย เพราะนั่นคือจุดสูงสุดของมันแล้ว

หรือกล่าวโดยสรุปง่ายๆ ก็คือ เมื่อใดที่คนส่วนใหญ่ซื้อ เราต้องขาย ถ้าคนส่วนใหญ่ขาย เราต้องซื้อนั่นเอง.....

อ่าน review ของหนังสือ "รวยหุ้นล้นฟ้า ด้วยระบบคิดใหม่" เพิ่มเติมที่ http://2binvestor.blogspot.com/2012/03/review.html

By 2Binvestor และบางส่วนจาก mudleygroup,ซุนเซ็ก,mangmaoclub


3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ16 มีนาคม 2556 เวลา 09:26

    ผมว่า โซรอส น่าจะพยายาม อธิบายพฤติกรรมหมู่ของคนในตลาดมากกว่า แต่เค้าคงไม่ได้ทำแบบนั้น มันทำให้ผม
    นึกถีงคำพูดของ ไทเกอร์ วู๊ด ที่ว่า "การที่จะตีลูกนี้ให้ดีที่สุด สิ่งที่ต้องทำก็คือ ลืมลูกที่ตีไปแล้วก่อนหน้านี้ให้หมด ไม่ว่า มันจะแย่ หรือดี แค่ไหนก็ตาม"
    อยู่กับปัจจุบันดีที่สุด

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 สิงหาคม 2556 เวลา 15:16

    โซรอสเป็นผู้สังเกตการก่อนคนอื่นๆทุกครั้งโซรอสมักได้กำไรก่อนคนอื่นโซรอสขายตลาดก็ร่วงคนบางกลุ่มไปซื้อบนยอดดอยเลยติดดอย จากเป็นผู้สังเกตการกลายเป็นคนผู้มีส่วนร่วมทันที คนอื่นตามโซรอสขายตลาดก็ร่วง ผู้มีส่วนร่วมขายก็ร่วงเข้าไปอีกงานนี้หนีกระเจิง

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ27 พฤษภาคม 2560 เวลา 00:01

    ตามความคิดเห็นส่วนตัว...จอร์ส โซรอส ทำการพูดในลักษณะบิดเบือนความจริงและเขาทำการวางประโยคคำพูดให้ซับซ้อนจนคนทั่วไปมองข้ามวัตถุประสงค์สำคัญไป ซึ่งคำกล่าวของโซรอสในใจความหนึ่ง ได้กล่าวถึงความสมดุล และความสมดุลที่แท้จริงนั้นคืออะไร?
    คนที่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า "ความสมดุล" นั้น จะใช้ชีวิตอยู่เหนือห่วงโซ่อาหาร คนพวกนี้จะถูกจัดว่าอยู่ในกลุ่มOligarchs ซึ่งคนพวกนี้จะมีอำนาจอิทธิพลและแรงชักจูงมหาศาล สามารถกระตุ้นตัวแปรและบิดเบือนให้บรรดาตัวแปรลุ่มหลงอยู่ภายใต้กับดัก เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวคนพวกนี้ก็จะวางน้ำหวานหลอกล่อไว้อีกหลายต่อหลายชั้น เพื่อให้บรรดาตัวแปรคล้อยตามและคิดว่าพวกเขาเดินอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้อง
    แต่นอกเหนือจากคำกล่าวอ้างทฤษฎีของโซรอสแล้วก็ยังมีอีกหลายทฤษฎีที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น ภายในหนึ่งวงกลมสามารถแบ่งออกได้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นค่าภายในหนึ่งวงกลมล้วนถูกกำหนดคความสมดุลไว้ที่ 100% ทั้งสิ้น ไม่ว่าค่าเศษส่วนใดๆ ภายในวงกลมจะลดลงหรือเพิ่มขึ้น มันก็จะต้องกลับมาได้ผลลัพธ์อยู่ที่ 100% เสมอ นี่คือแก่นแท้ทฤษฎีของความเป็นจริง

    ตอบลบ