โดยหลังจากทำงานแรกที่เมอร์ริล ลินซ์ ได้ไม่นาน เขาก็ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนของเขาเอง และเมื่ออายุได้ 56 ปีเขาได้ขายมันไปและเริ่มต้นก่อตั้งกองทุนขี้น ชื่อว่า Templeton Growth กองทุนนี้สามารถสร้างผลดการดำเนินงานได้สูงติดอันดับต้นๆ ตลอดระยะเวลา 20 ปี ทีเดียว โดยหลายคนกล่าวว่าความสำเร็จของเขานี้เกิดจากการที่เขาสามารถมองเห็นโอกาสในการลงทุนก่อนใคร โดยอาจเป็นได้ว่าความสำเร็จที่สำคัญของเขาเกิดจากการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงปี1962 ซึ่งเป็นตอนที่ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะผู้ผลิตสินค้าคุณภาพต่ำราคาถูก ทำให้ราคาหุ้นของญี่ปุ่นไม่ได้รับความสนใจและมีราคาต่ำมาก เขาเข้าไปกวาดหุ้นจำนวนมาก อาทิ ฮิตาชิ นิสสัน ซูมิโตโม ฯลฯ จนกองทุนของเค้ามากกว่า 50% เป็นหุ้นถูกๆ แบบว่าเมดอินเจแปน และหลังจากนั้น โตเกียวก็ไม่ทำให้เขาผิดหวัง ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศโตเร็วและตลาดหุ้นโตเกียวก็เป็นขาขึ้นไปจนถึงปี 1989!!!!!
วิธีการและแนวทางการลงทุน
เทมเปิลตันได้สรุปหลักการลงทุนของเขาเป็น หลักปฎิบัติ 10 ประการ ไว้ดังนี้
นำหลักเกณฑ์ของเกรแฮมมาใช้
ถ้าเห็นกลยุทธ์ของเทมเพลตันแล้วรู้สึกคุ้นๆล่ะก็ นั่นเป็นเพราะกลยุทธ์นี้อ้างอิงมาจากหลักการของเกรแฮม เขานำระบบพื้นฐานของเกรแฮมมาพัฒนาต่อให้เป็นระบบของเขาที่เข้ากันได้ดีกับตัวเอง
การลงทุนใหญ่ครั้งแรกของเทมเพลตันเป็นแบบแผนการลงทุนที่เขายึดถือตลอดอาชีพการลงทุนของเขาในเวลาต่อมา
- ซื้อแต่ของถูก ไม่สนใจหุ้นยอดนิยมที่นักลงทุนสถาบันชอบซื้อ และหุ้นที่นักวิเคราะห์ติดตาม แต่จะค้นหาหุ้นที่อยู่นอกเหนือความสนใจด้วยตัวเอง เขาวางขอบเขตของตัวเองไว้กว้างกว่าที่เกรแฮมหรือแม้แต่บัฟเฟตต์ทำ เขาค้นหาบริษัทที่มีราคาถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริงจากทั่วโลก
- ซื้อในตลาดขาลง ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะซื้อคือช่วงเวลาที่ตลาดเป็นขาลง นักลงทุนส่วนมาก รวมทั้งพวกมืออาชีพ ต่างรู้สึกหวาดกลัวเกินกว่าจะลงทุน เขาลงทุนในลักษณะเดียวกับบัฟเฟตต์และเกรแฮม คือจะลงทุนต่อเมื่อแน่ใจว่ามี ส่วนต่างความปลอดภัย มากเพียงพอ ซึ่งช่วงเวลาที่เอื้ออำนวยที่สุดก็คือช่วงตลาดตกต่ำนั่นเอง
ด้วยการมองหาโอกาสไปทั่วโลก ทำให้เขารู้ว่าเขาสามารถหาตลาดที่กำลังย่ำแย่ได้ สักแห่ง เสมอในโลกใบนี้
เทมเปิลตันได้สรุปหลักการลงทุนของเขาเป็น หลักปฎิบัติ 10 ประการ ไว้ดังนี้
- ลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่แท้จริง วัตถุประสงค์หลักในการลงทุนระยะยาว คือการสร้างผลตอบแทนหลังหักภาษีให้สูงที่สุด
- เปิดใจให้กว้างตลอดเวลา เขาไม่เคยใช้หลักการลงทุนใดอย่างถาวร เขามักมีการปรับวิธีการลงทุนให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับสถานการณ์ และเปิดใจให้กว้างเพื่อรับแนวความคิดใหม่ๆเสมอ
- ไม่ตามคนหมู่มาก หากซื้อหุ้นตามคนหมู่มาก เราก็มักจะได้รับผลตอบแทนแบบเดียวกันกับคนเหล่านั้น การซื้อหุ้นควรทำเมื่อคนส่วนใหญ่เกิดความกลัว และขายเมื่อคนส่วนใหญ่กำลังหึกเหิม การจะทำอย่างนี้ได้ต้องอาศัยความอดทนที่ยิ่งใหญ่ แต่รางวัลที่ได้รับก็มักจะยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน
- ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ตลาดที่ซบเซามักจะมีเป็นการชั่วคราว หลังจากนั้นจะเป็นตลาดขาขึ้น
- หลีกเลี่ยงหุ้นที่กำลังเป็นที่นิยม เพราะนักลงทุนเหล่านั้นอาจกำลังเลือกหุ้นที่ผิดพลาดหรือผิดจังหวะเวลาก็เป็นได้
- เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง
- ซื้อหุ้นในช่วงที่ตลาดปกคลุมไปด้วยข่าวร้าย ช่วงเวลาที่ตลาดปกคลุมไปด้วยข่าวร้ายเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการซื้อ และช่วงที่ตลาดปกคลุ่มไปด้วยข่าวดีเป็นช่วงที่ควรขายที่สุด
- ในตลาดหุ้นนั้นการที่จะซื้อหุ้นได้ในราคาที่ถูกมากๆคือตอนที่นักลงทุนส่วนใหญ่ขายหุ้นออกมา
- มองหาโอกาสทั่วโลก ถ้าเราสามารถหาโอกาสการลงทุนได้ทั่วโลกเราจะพบว่ามีหุ้นที่ถูกๆ มากกว่าการลงทุนในประเทศเดียว
- ไม่มีใครรู้ไปซะทุกเรื่อง
- ผู้ที่สามารถตอบได้ทุกเรื่องเขาอาจจะไม่เข้าใจคำถามก็ได้
เครดิต : ส่วนหนึ่งจากเว็บ thaivi.com และหนังสือ The winning investment habits of Buffett & Soros
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น