21 ตุลาคม 2558

'มิ้งค์-ภัทรพร' Startup ไทย ใน Silicon Valley

Script Inc.บริษัทสร้างสรรค์นวัตกรรมบนมือถือ Startup สัญชาติไทยแท้ ที่มีมูลค่าธุรกิจใน Silicon Valley ณ วันนี้ กว่า 500 ล้านบาท! 

 “Silicon Valley” คือ ดินแดนที่ได้ชื่อว่า หุบเขาแห่งทองคำ แหล่งกำเนิดสุดยอดเทคโนโลยีของโลก ที่ตั้งสำงานใหญ่ของ Apple, Facebook, Google, eBay, Intel ฯลฯ และบริษัทนวัตกรรมน้อยใหญ่ 


นี่คือ ดินแดนในฝันของเหล่า Startup จากทั่วโลก 

หนึ่งบริษัทที่กำลังสร้างตัวเองอยู่ใน Silicon Valley มีชื่อว่า “Script Inc.” บริษัทสร้างสรรค์นวัตกรรมบนมือถือ เจ้าของแอพพลิเคชั่นแต่งภาพสุดคูล Flipjam และ PicCandy ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก 

นี่ไม่ใช่ธุรกิจสัญชาติอื่นใด แต่เป็น Startup ของคนไทยแท้ๆ โดยผู้ก่อตั้งชื่อ มิ้งค์-ภัทรพร (สุขสมปอง) สกุลคู สาวเก่งผู้เขียนหนังสือ “เก่งสวย รวยเปลี่ยนโลก Startup” ที่ประสบความสำเร็จมากๆ ในปีที่ผ่านมา 

20 ตุลาคม 2558

ทำความรู้จัก Jordan Belfort : The Wolf of Wall Street ตัวจริง

เชื่อว่าคอหุ้นหลายๆคน คงเคยดูหนังเรื่อง The Wolf of Wall Street ที่นำเรื่องจริงจากชีวิตชายชื่อ Jordan Belfort มาตีแผ่ให้เห็นอีกด้านนึงของตลาดหุ้น เกิดเป็นกระแสวลีสุดฮิต “Sell me this pen” – ขายปากกานี้ให้ฉัน ถ้าคุณขายปากกาธรรมดาๆได้ คุณก็ขายได้แทบทุกอย่างบนโลกนี้

Jordan Belfort เป็นนักธุรกิจและนักขายมือทองผู้ร่ำรวยและโด่งดังจากผลงานการเป็นนายหน้าค้าหุ้นใน Wall Street ทำเงินมหาศาลภายในเวลาอันรวดเร็วและรวยถึงขั้นใช้เงินไม่ทัน เกิดการพัวพันกับธุรกิจสีเทา เหล้ายา และผู้หญิงจนตกต่ำติดคุก เมื่อพ้นโทษออกมาก็ตั้งปณิธานจะนำประสบการณ์ชีวิตมาถ่ายทอดเป็นบทเรียนแก่ผู้อื่นให้ร่ำรวยและเป็นคนดี

อยากจะรวย ช่วยไม่ได้

Jordan Belfort เกิดและโตในย่าน Bayside ในนิวยอร์ก ครอบครัวทำงานบริษัทในตำแหน่งพนักงานบัญชี มีฐานะปานกลาง และภาพที่เห็นจนชินตาและเกิดคำถามในใจคือ พ่อแม่ที่ทำงานหนัก แม้จะมีกินมีใช้แต่ไม่รวยแบบเด็ดขาดและไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว สภาพครอบครัวที่เป็นทำให้เขาตั้งมั่นกับตัวเองว่า “ฉันจะรวยให้ได้”

19 ตุลาคม 2558

Jordan Fried วิถีรวยแบบ The New Rich ไม่ต้องรอรวยก็เที่ยวรอบโลกได้

ใครเป็นแฟนคลับหนังสือ The 4-Hour Work Week ของ Tim Ferriss ต้องคุ้นเคยกับคำว่า The New Rich เป็นวิถีของคนรวยรุ่นใหม่ที่ผมขอเรียกเอาเองว่า ไม่ต้องรอให้รวยก็รวยได้

Tim Ferriss มองว่าความร่ำรวยจะไร้คุณค่าถ้าคุณหาอิสรภาพทางเวลาให้กับชีวิตไม่ได้ ดังนั้นเจ้าของกิจการแบบ Traditional business หรือ เถ้าแก่เฝ้าร้าน ที่ต้องคุมงานทั้งวันทุกวันไม่ใช่คนรวยในมุมมองของ Tim Ferriss

เขามองว่าคนรวยอย่างสมบูรณ์แบบต้องเป็นคนที่มีธุรกิจที่สร้างรายได้ต่อเนื่องโดยคุณไม่ต้องอยู่ในระบบตลอดเวลา

ในแง่ของเม็ดเงิน คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีรายได้เป็นร้อยล้านพันล้านแบบ Fortune 500 Company อะไรพวกนั้น ขอเพียงคุณมีรายได้พอเพียงมีใช้เหลือเก็บและมีเวลาให้แก่ชีวิตตัวเองมากโดยไม่ต้องลำบากทำงานทั้งวันนั่นคือ The New Rich

16 ตุลาคม 2558

10 ข้อควรรู้ก่อนเกษียณ


1. 'เงินเดือนเสี่ยงสุด' ..พอเกษียณแล้วไม่มีเงินเดือน แถมเดี๋ยวนี้เงินก้อนหลังเกษียณแทบไม่มี เพราะมันเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องตัดเป็นอย่างแรกเมื่อต้องการลดต้นทุนธุรกิจ

2. 'ยุคนี้อายุเราโคตรยืน' ..ด้วยการแพทย์ปัจจุบัน คุณจะอยู่กันเป็น 100 ลองคำนวณซิว่า เมื่อไหร่เงินเก็บที่คุณมีจะ 'สลดเพราะใช้เงินหมดก่อนตาย'

3. 'ลูกหลานเลี้ยงดูเราไม่ได้' ไม่ใช่ลูกหลานไม่กตัญญู แต่ตัวมันเองยังเอาตัวไม่รอด จะเอาปัญญาที่ไหนมาดูแลคนเกษียณอย่างเรา ..ภาระคือสิ่งแรกที่คนทิ้งเมื่อเกิดวิกฤต -- อย่าทำตัวเราให้เป็นภาระ เพราะวิกฤตเกิดประจำ

4. 'ไม่รู้จักคำว่า Passive Income' ..คำนี้สวรรค์ชัดๆ สำหรับคนที่มี ..Passive Income คือ เงินที่ไหลเข้ามาหาเราเรื่อยๆ แม้ว่าเราจะหยุดทำงาน หรือ แม้กระทั่งป่วย เงินนี้ก็ยังไหลเข้ามา ...การสร้าง Passive Income มันเกิดจากการลงทุนแบบซื้อของที่มูลค่าสร้างรายได้แบบไม่ขายสิ่งนั้นชั่วชีวิต เช่น ออมในหุ้น , ออมในอสังหาให้เช่า

15 ตุลาคม 2558

จอห์น วู้ด ลาออกจากผู้บริหารไมโครซอฟท์ เพื่อสร้างห้องสมุดในชนบท

โครงการห้องสมุดทั่วโลก ‘Room to Read’ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ 15 ปีก่อน โดยอดีตผู้บริหารไมโครซอฟต์ ปัจจุบันมีห้องสมุดทั้งหมด 17,500 แห่งทั่วโลกแล้ว และช่วยเหลือเด็ก ๆ ให้มีหนังสือได้อ่านกันถึง 10 ล้านคน

นายจอห์น วู้ด เล่าถึงประสบการณ์ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เขาลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารบริษัท ไมโครซอฟท์ และมาริเริ่มโครงการดังกล่าวว่า เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เขาได้มีโอกาสแวะเยี่ยมโรงเรียนบนเขาแห่งหนึ่งของหมู่บ้าน บาฮุนดันดาในเนปาล ซึ่งห้องสมุดที่นั่นมีหนังสือเพียงไม่กี่เล่ม โดยเป็นหนังสือที่นักท่องเที่ยวทิ้งเอาไว้ บางเล่มถูกเก็บล็อกกุญแจเอาไว้ในตู้เสมือนของมีค่า โดยไม่อนุญาตให้เด็กยืมอ่าน เขาเล่าว่า ก่อนเดินทางออกจากหมู่บ้าน ครูใหญ่พูดส่งท้ายกับเขาว่า หากมีโอกาสได้กลับมาอีก ช่วยเอาหนังสือติดมือมาสักสองสามเล่ม

หยุดใช้เงินซื้อความสุข หนทางสู่ 'อิสระภาพทางการเงิน' ของ 'ทศวรรษ ทองสุข'

หยุดใช้เงินซื้อความสุข หนทางสู่ 'อิสระภาพทางการเงิน' ของ 'ทศวรรษ ทองสุข' กรรมการสมาคมวีไอ ย้ำเป้าหมายการลงทุน อยากเห็นพอร์ตหุ้นโตปีละ 26%

'วินัยในการบริหารเงินที่สูงมาก' ของนักลงทุนแนววีไอ 'ทศวรรษ ทองสุข' เจ้าของนามแฝง 'TODTO' ประจำเวปไซด์ THAIVI ในฐานะกรรมการ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ทำให้ชีวิตเจอกับคำว่า 'อิสระภาพทางการเงิน' เมื่อ 4 ปีก่อน

 'ชายวัย 33 ปี' ดีกรีปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาคค่ำ) จะเข้าสู่แวดวงนักลงทุน Value Investment และตัดสินใจลาออกจากอาชีพมุนษย์เงินเดือน เมื่อ 3 ปีก่อน หลังนั่งทำงานตำแหน่ง โปรแกรมเมอร์ สำนักข่าวรอยเตอร์ส (ประเทศไทย) มานานหลายปี

เขาเคยใช้เวลาหลังเลิกงานทำธุรกิจเล็กๆ รวดเดียว 2-3 กิจการ เพราะต้องการทดลองวิชาที่เรียนมา เช่น ร้านเช่าเซิร์ฟเวอร์,สร้างเว็บไซต์ และร้านไอศรีม ควบคู่กับการปล่อยเช่าคอนโดมิเนียม

ผลของการอยากเป็นเถ้าแก่น้อย คือ 'เจ๊งทุกกิจการ' หลังทดลองดำเนินการมาประมาณ 2-3 ปี สาเหตุที่ไม่ประสบความสำเร็จเป็นเพราะ 'ไม่มีประสบการณ์มากพอ'

14 ตุลาคม 2558

กลยุทธ์การลงทุนของ “ฟิลลิป ฟิชเชอร์” นักลงทุนระดับตำนาน

“ฟิลลิป ฟิชเชอร์” ได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นการเติบโต” และเป็นหนึ่งในนักลงทุนชั้นครูที่สุดยอดนักลงทุนแห่งยุคอย่าง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ให้การยอมรับนับถือ 

ครั้งหนึ่ง “บัฟเฟตต์” เคยบอกไว้ว่า การลงทุนของเขามีส่วนผสมของ “เบนจามิน เกรแฮม” 85 % และของ “ฟิลลิป ฟิชเชอร์” 15 % แต่ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า จริงๆ แล้วน่าจะเป็น 50 % กับ 50 % มากกว่า เพียงแต่ “บัฟเฟตต์” อาจจะต้องการให้เกียรติแก่ “เกรแฮม” ผู้อาจารย์ที่เขาเคารพรัก

“ฟิชเชอร์” เริ่มต้นการทำงานในตำแหน่งนักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลังจบการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จากนั้นเขาได้ก่อตั้งบริษัท Fisher & Company ที่ซานฟรานซิสโกในเดือนมกราคม 1931 ซึ่งดูเหมือนจะไม่ใช่ฤกษ์งามยามดีสักเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นช่วงที่เพิ่งเกิดสภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression ปี 1929) แต่กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่ถูกต้อง หลังจากผ่านพ้น 2 ปีแห่งความเลวร้ายของตลาดหุ้น นักลงทุนจำนวนมากรู้สึกไม่ไว้เนื้อเชื่อใจโบรกเกอร์ที่พวกเขาเคยใช้บริการ และหันมารับฟังมุมมองใหม่ๆ ในการลงทุนจากคนรุ่นใหม่ไฟแรงอย่าง “ฟิชเชอร์”

13 ตุลาคม 2558

ปรมาจารย์ด้านศิลปะ 'ถวัลย์ ดัชนี'

ผลงานของ อ.ถวัลย์ มีรูปแบบเฉพาะตัวอีกคือ เป็นผลงานที่ดูลึกลับ น่าสะพรึงกลัว ด้วยอสูร หรือสัตว์ต่าง ๆ ในท่าทีเกรี้ยวกราด ซึ่งอยู่ในโทนสีขาวดำมืดครึ้มเป็นหลัก และยังใช้ฝีแปรงและการแรเงาที่สะท้อนอารมณ์ภายในออกมาอย่างเต็มเปี่ยม แต่ภายใต้ความน่าเกรงขามดังกล่าว กลับแฝงไปด้วยคติธรรมและข้อคิดที่บางคนอาจลืมเลือนไปนานแล้ว และด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบนี้เอง ทำให้ใคร ๆ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "เห็นเพียงหางตาก็รู้แล้วว่า นี่คือผลงานของ อ.ถวัลย์"

ว่ากันว่าภาพเขียนของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี มีราคาแพงที่สุดในประเทศไทย ซึ่งตัวเลขสูงสุดที่ว่านั้นคือ 20 ล้านบาท!  อาจารย์ถวัลย์ปฏิเสธการขายรูปมาตั้งแต่อายุ 50 ปีแล้ว "ใครอยากจะจองจบกันเลย เพราะตั้งแต่นี้ต่อไปจนตาย ผมจะเขียนรูปใส่บ้านผมอย่างเดียว ให้มันเป็นมหกรรมเลย ใครอยากเห็นให้ไปดูในวิดีโอได้ ผมขายมามากพอแล้ว เก็บเงินไว้สำหรับพอใช้แล้ว เพราะฉะนั้น ผมจึงไม่ต้องการเงินทองอะไรอีกแล้ว"

8 ตุลาคม 2558

"ศักดา สรรพปัญญาวงศ์" ให้เวลากับการเลือกหุ้น...สไตล์ VI

ศักดา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ให้ความรู้ A-Academy ย้อนอดีตให้ฟังว่า เริ่มต้นลงทุนมาตั้งแต่ปี 3 นับจนถึงปัจจุบันก็ประมาณ 10 ปี แล้ว แต่ในช่วง 3 ปี แรกไม่เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไร ตอนนั้นเริ่มต้นลงทุนด้วย "กองทุนรวม" แต่ไม่ถึงปีก็ไปเปิดพอร์ตหุ้นลงทุนด้วยตัวเองแต่ช่วงปีแรกยังสะเปะสะปะมั่วไปหมด ใช้ทุกแนวอ่านอะไรมาก็ไปทำแบบนั้น ตอนนั้นประมาณปี 4 แล้ว ที่ดีหน่อยคือตัวเองไม่ได้อ่านเฉพาะหนังสือแนวลงทุนแต่อ่านหนังสือรอบด้านกว่านั้นรวมถึงแนวการเงินส่วนบุคคลด้วยเล่มที่อ่านในตอนนั้นชื่อ "วางแผงรวยยกกำลัง 2" จึงตระหนักว่าเรียนมาเพื่อหาเงินมาทั้งชีวิต  แต่ไม่มีใครมาสอนเรื่องการจัดการเงินให้เลย แต่นี่คือโลกของความเป็นจริงตั้งแต่นั้นจึงเริ่มลงทุนและออม เมื่อมาต่อโทที่ NIDA ด้านการเงินก็เริ่มได้แนวทางการลงทุนที่มีความสุขมากขึ้นนั่นคือ "การลงทุนแบบเน้นคุณค่า " ซึ่งกลายมาเป็นแนวทางในการลงทุนในหุ้นปัจจุบันของตัวเองทั้งพอร์ต

"ในมุมของคนที่ลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มองธุรกิจเป็นหลัก สมมติเราสร้างธุรกิจมาธุรกิจหนึ่งแล้วมันมีอุปสรรคเข้ามา คงไม่ใช่ปิดกิจการแล้วไปเริ่มธุรกิจใหม่แต่เป็นเรื่องของการจัดการให้ผ่านมรสุมตรงนี้ไปได้ยังไง คือ ถ้าคนทำธุรกิจเป็นแบบนั้น ในมุมมองการลงทุนของผมก็เป็นแบบเดียวกัน คือ ไม่ได้ไปตามข่าวอะไรที่สั้นขนาดนั้น หัวใจสำคัญไม่ใช่ทฤษฎีการเงินอะไรมากมาย สำคัญคือการมองธุรกิจออกมากกว่าว่าธุรกิจนี้เป็นไง จะแข่งขันได้ไหม จะโตได้ไหมเมื่อเกิดภัยหรือโอกาส เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่เราเลือกแล้วว่าเขาจะต้องนำพาธุรกิจให้ผ่านไปได้ เพราะฉะนั้นผลไม่ว่าเกิดอะไรก็ตามถ้าธุรกิจยังดี ยังตรวจสอบได้ เช่น เรายังไปเดินชมได้ เห็นคนยังเข้าคิวกิน เข้าคิวใช้อยู่ เราก็ซื้อต่อไปเรื่อยๆ แนวนี้ก็ทำมาถึงทุกวันนี้"